วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Technology in Education and Technology of Education

Technology in Education แนวคิดเกี่ยวกับความหมายเทคโนโลยีทางการศึกษาอาจแบ่งได้เป็น 2 แนวคิดหลัก
1. แนวคิดวิทยาศาสตร์และกายภาพ หรือเทคโนโลยีทางการศึกษา (Technology in Education) หรือเทคโนโลยีเชิงเครื่องมือ (Tools Technology)
เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำสื่อที่เกิดจากการปฏิวัติทางการสื่อสารมาใช้ในการเรียนการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำทัพสัมภาระต่างๆ อันเป็นผลผลิตแห่งความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ในการเรียนการสอน
2. แนวคิดเชิงพฤติกรรม หรือเทคโนโลยีทางการศึกษา (Technology in Education) หรือเทคโนโลยีเชิงระบบ (System Technology)เทคโนโลยีทางการศึกษาตามแนวคิดนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นแนวคิดที่เน้นเรื่องการปฏิบัติงานทางการศึกษาด้วยวิธีระบบ หรืออาจกล่าโดยสรุปได้ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การออกแบบ การวางแผน การดำเนินการตามแผนการประเมินผล ภายใต้จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจงอย่างมีระบบ โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการที่ได้มาจากการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ ตลอดจนอาศัยทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น ธรรมชาติสร้างขึ้น หรือมนุษย์และธรรมชาติร่วมกันสร้างขึ้น (มนตรี แย้มกสิกร, 2547: 31)


เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (Technology in Education) หมายถึง การนำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน เพื่อให้การศึกษาการสอนการเรียนมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการศึกษา ได้แก่เทคโนโลยีต่าง ๆ ดังนี้
1. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสื่อสารทางไกลโดยผ่านระบบการสื่อสารคมนาคมต่าง ๆ
2. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ในการรับข้อมูล ประมวลผลข้อมูลและนำเสนอข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการ
3. เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network-LAN) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ไม่มากนัก มักอยู่ในอาคารหลังเดียว เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network-WAN) เป็นระบบเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์กระจายอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ช่วยให้สำนักงานในจังหวัดติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกับสำนักงานใหญ่ที่อยู่ในเมืองหลวงได้
4. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เป็นแนวคิดที่นำระบบเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์สำนักงาน เช่น ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบประชุมทางไกล
5. เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ เป็นการประมวลผลข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ เพื่อช่วยในการจัดการและบริหารงาน
6. ระบบมัลติมีเดีย เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความเข้าด้วยกันโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการแสดงผล นำไปประยุกต์ใช้ในการสอน เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) กิจกรรมเพื่อการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในปัจจุบันนี้ได้แก่ วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา วิทยุโรงเรียน โทรทัศน์เพื่อการศึกษา การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ระบบประชุมทางไกล ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในบทความผู้เขียนได้กล่าวถึงความสำคัญของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่มีในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และประวัติการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาของไทยไว้ด้วย (ชม ภูมิภาค,2543 : 15)


เทคโนโลยีการศึกษาเป็นระบบประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ (วัสดุ) และผลิตกรรมของวิศวกรรม (อุปกรณ์) โดยยึดหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ (วิธีการ) มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา ทั้งในด้านบริหาร ด้านวิชาการ และด้านบริการ หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีการศึกษาเป็นระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ มาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการศึกษาให้สูงขึ้น (ชัยยงค์ พรหมวงศ์และคนอื่นๆ, 2523 : 24)


กล่าวโดยสรุปแล้ว Technology in Education หรือ คือ การนำสื่อที่เกิดจากการปฏิวัติทางการสื่อสารหรือผลผลิตแห่งความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เข้ามาใช้ในการเรียนการสอน

Technology of Education คือ การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการออกแบบการเรียนรู้ (a system approach to design of learning) ซึ่งยึดผู้เรียนรายบุคคลเป็นรากฐาน แม้จะให้การเรียนรู้แก่คนเป็นกลุ่มใหญ่ ก็เป็นการให้การเรียนรู้แก่คนกลุ่มใหญ่เป็นคนๆ ไปอยู่นั่นเอง (มนตรี แย้มกสิกร, 2547: 47)

อ้างอิง
ชม ภูมิภาค, เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา, เทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 หน้า 15-17, 2543
ชัยยงค์ พรหมวงศ์และคนอื่นๆ. (2523). เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ยูไนเต็ดโปรดักชั่น.
มนตรี แย้มกสิกร. (2547). การวิจัยและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น